post-title

การมีเพศสัมพันธ์ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสามอันตรายไหม?

     เราทุกคนต่างทราบกันดีว่า คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีอายุครรภ์มากๆ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่กำลังเข้าสู่ไตรมาสที่สาม ซึ่งถือว่ามีอายุครรภ์อยู่ในช่วง 7-9 เดือน (ท้องแก่) เป็นช่วงอายุครรภ์ที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับตัวคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์เองก็เพิ่มตามอายุครรภ์ กิจกรรมบางประเภทที่อาจโลดโผนจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเองสำหรับคุณแม่🙅‍♀️ วันนี้บทความของเราจึงพาคุณผู้อ่านมาดูถึงกิจกรรมหนึ่งที่คู่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคู่ต้องได้ทำร่วมกัน นั่นก็คือกิจกรรมทางเพศนั่นเอง ว่าคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ขนาดนี้ จะยังสามารถทำกิจกรรมทางเพศได้เช่นเดียวกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อยๆได้หรือไม่💁‍♀️


ลักษณะของคุณแม่ที่ตั้งครภร์ในไตรมาสสาม (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)

  1. หน้าท้องของคุณแม่จะโตมาก🤰 โตอย่างสังเกตได้ชัดเมื่อเทียบกับสองช่วงไตรมาสก่อนหน้า

  2. น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สาเหตุจากการที่เจ้าตัวน้อยในครรภ์มีขนาดตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่คุณแม่หิวง่ายขึ้น🤤 บริโภคอาหารในแต่ละวันเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ น้ำหนักของคุณแม่เองก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างเป็นปกติอยู่ดีค่ะ

  3. หน้าอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วงเดือนก่อนคลอดอาจมีอาการคัดตึงหน้าอก เนื่องจากเต้านมเริ่มมีการผลิตน้ำนมสำหรับเจ้าตัวน้อยค่ะ

  4. แน่นอนว่าการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น ล้วนมาพร้อมกับการทำงานของกล้ามเนื้อหลังและขาที่เพิ่มขึ้น ทำให้คุณแม่อาจมีอาการปวดหลังปวดขา🦵ที่หนักขึ้นก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

  5. ปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ที่แปรปรวนนั้นยังมีเหมือนเดิม🤯 ในส่วนของอารมณ์ทางเพศจะลดลงมาก บางท่านอาจไม่มีเลย เพราะถือว่าเป็นช่วงไตรมาสที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกับร่างกายของคุณแม่ค่อนข้างเยอะ ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดกับร่างกายตนเองได้ค่ะ

  6. ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายยังคงมีเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาการกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ รับประทานอะไรไม่ค่อยลง ไม่ค่อยอยากอาหาร พ่วงมากับอาการท้องผูก💩


    ตั้งครรภ์ในไตรมาสสามมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

  7. คำตอบจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในสองไตรมาสก่อนหน้า นั่นคือสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ค่ะ💞 แต่เนื่องจากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสนี้จะมีท้องที่โตมาก และร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีกิจกรรมทางเพศจึงควรเลือกอิริยาบถที่กดทับท้องของคุณแม่ให้น้อยที่สุด เพราะหากท้องของคุณแม่ถูกกด เจ้าตัวน้อยในครรภ์ก็จะถูกกดไปด้วย เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อคุณแม่เองและเด็กค่ะ และควรทำในรูปแบบที่บอบบาง ทะนุถนอมคุณแม่ให้มากที่สุด เพราะถือเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อมมากค่ะ ดังนั้นหากเลี่ยงได้หรืออดทนได้ก็ควรจะเลี่ยงไปก่อน เอาไว้ค่อยไปมีหลังคลอดก็จะปลอดภัยที่สุดค่ะ

  8. หากเลี่ยงไม่ได้จริงๆแต่ไม่ได้ต้องการสอดใส่ สามารถใช้การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากหรือ oral sex 👄เข้ามาช่วยบรรเทาอารมณ์ได้ค่ะ แต่ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่หรือเพียงการใช้ปาก สิ่งที่สำคัญที่สุดก็ยังคงเป็นการป้องกันระหว่างมีกิจกรรม ถึงแม้คุณผู้หญิงจะไม่สามารถท้องซ้ำซ้อนได้ก็จริงในช่วงเวลานั้น แต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญไม่ได้ติดเพียงคุณพ่อหรือคุณแม่ แต่เจ้าตัวน้อยในครรภ์เองก็สามารถติดเชื้อได้เช่นเดียวกันค่ะ

  9. สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์เข้าเดือนที่ 8-9 หรือพูดง่ายๆว่าเป็นช่วงเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนคลอด แนะนำว่าให้งดกิจกรรมทางเพศไปเลยจะปลอดภัยต่อร่างกายของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์มากที่สุดค่ะ🙅‍♀️ เพราะเป็นช่วงที่เริ่มเสี่ยงต่อการที่ถุงน้ำคร่ำจะแตกแล้ว และหากแตกก่อนกำหนดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงแก่เด็กในครรภ์ได้ค่ะ


    คุณแม่ที่ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์

  10. คุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้ง หรือประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

  11. ครรภ์ที่คุณแม่กำลังอุ้มท้องอยู่ถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นมีอาการเลือดออกที่ผิดปกติ🩸 คุณแม่มีอาการเจ็บหรือปวดท้องน้อย คุณแม่ที่มีอาการรกเกาะต่ำ

  12. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด👯‍♂️ ซึ่งถือว่าไม่ใช่ครรภ์ปกติ นับเป็นอีกหนึ่งภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงค่ะ

  13. คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ได้ 8-9 เดือน (ท้องแก่มาก)

     อ่านมาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านทุกท่านคงจะเห็นแล้วนะคะว่า กิจกรรมทางเพศสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสาม (อายุครรภ์ 7-9 เดือนนั้น) หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยงออกไปก่อน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทำอย่างอ่อนโยนมากๆ และสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์เข้าเดือนสุดท้ายก่อนกำหนดคลอดนั้น กิจกรรมทางเพศถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำมากๆ และที่สำคัญที่สุด หากคุณพ่อและคุณแม่อยากประกอบกิจกรรมดังกล่าวกันจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ก่อนค่ะ👨‍⚕️