ปฏิเสธไม่ได้ว่าทารกในครรภ์แต่ละช่วงอายุนั้น ล้วนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและระบบอวัยวะที่แตกต่างกันออกไป นั่นทำให้วิธีการดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ในแต่ละระยะก็แตกต่างกันเช่นเดียวกัน สำหรับคุณแม่แล้วการนับอายุครรภ์ของตนเองจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก🤰 เพราะจะทำให้คุณแม่ดูแลสุขภาพของตนเองรวมไปถึงลูกน้อยได้สัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็ก วันนี้บทความของเราจึงพาคุณผู้อ่านมาดูถึงวิธีนับอายุครรภ์อย่างแม่นยำ เราไปเริ่มทำความรู้จักกับวิธีดังกล่าวพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
วิธีนับอายุครรภ์แบบต่างๆ มีดังต่อไปนี้
✨นับอายุครรภ์รายสัปดาห์
วิธีนี้ถือเป็นหนึ่งวิธีที่นับด้วยตนเองได้ค่อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อนค่ะ✅ โดยจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนรอบสุดท้ายมา ไม่ใช่วันสุดท้ายของประจำเดือนรอบสุดท้ายนะคะ ยกตัวอย่างเช่น คุณผู้หญิงมีประจำเดือนล่าสุดในช่วงวันที่ 1-7 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นประจำเดือนก็ไม่มาอีกเลย แล้วจึงทราบผลตรวจว่าตั้งครรภ์ ให้นับว่าวันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันที่ 0 ของการตั้งครรภ์🤰 และสัปดาห์แรกนับตั้งแต่วันมีประจำเดือนรอบสุดท้าย ให้นับเป็นสัปดาห์ที่ 0 ของการตั้งครรภ์ค่ะ หากใช้วิธีการนับแบบนี้ ให้นับถัดไปอีก 287 วันก็จะเป็นเวันกำหนดคลอดโดยประมาณค่ะ
✨นับอายุครรภ์ตามวันปฏิสนธิ
สำหรับวิธีการนับแบบนี้จะใช้ข้อมูลหลายส่วนเป็นองค์ประกอบในการคำนวณ แต่ไม่ยากเกินความสามารถพวกเราทุกคนแน่นอนค่ะ ถ้าอ้างอิงจากวิธการนับแบบนับอายุครรภ์รายสัปดาห์ด้านบน ซึ่งเป็นวิธีที่เราต้องทราบหรือจำวันที่ที่มีประจำเดือนรอบสุดท้ายวันแรกได้อยู่แล้ว แต่อันที่จริงหากจะมีการปฏิสนธิและได้มาซึ่งตัวอ่อนในครรภ์ ไข่ของคุณผู้หญิงน่าจะถูกผสมในวันตกไข่ ซึ่งก็คือวันที่ก่อนวันมีประจำเดือนวันแรก🩸ของประจำเดือนรอบสุดท้ายประมาณ 2 สัปดาห์นั่นเอง ยกตังอย่างเช่น หากคุณผู้หญิงมีประจำเดือนรอบสุดท้ายวันแรกคือวันที่ 1 มกราคม แปลว่าคุณผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะตกไข่ตั้งแต่ประมาณวันที่ 18 ธันว่าคมที่ผ่านมาของปีที่แล้วนั่นเอง ซึ่งก็มีแนวโน้มจะเป็นการนับที่มีความแม่นยำกว่าวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์วิธีแรก แต่ก็มีความซีบซ้อนขึ้นเล็กน้อยนั่นเองค่ะ
รวมไปถึงวิธีเหล่านี้อีกด้วย
✨นับอายุครรภ์ตามเดือน
วิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ซับซ้อน เพียงแค่เปลี่ยนจากวิธีการนับรายสัปดาห์แปลงเป็นเดือนนั่นเอง เช่น ในอายุครรภ์ช่วง 1-4 สัปดาห์ก็จะนับว่าคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 1 เดือน และหากคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน (ช่วง 9-13 สัปดาห์) ก็จะถือว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) แล้วนั่นเองค่ะ
✨นับอายุครรภ์จากวันที่ลูกดิ้นครั้งแรก
เมื่อคุณแม่รู้สึกว่าทารกในครภ์กำลังดิ้นเป็นครั้งแรกให้จด📝หรือจำวันที่ไว้ หากคุณแม่ต้องการทราบอายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกที่ลูดิ้นจนถึงวันที่ต้องการนับอายุครรภ์ ให้นับเป็นจำนวนวันแล้วหารด้วย 7 ถึงขั้นตอนนี้คุณแม่จะทราบอายุครรภ์ตามสัปดาห์ หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ให้บวกจากผลหารไปอีก 18-20 สัปดาห์ แต่หากไม่ใช่การตั้งครรภ์ครั้งแรกให้บวกไป 16-18 สัปดาห์ ก็จะได้อายุครรภ์ที่แท้จริง ในปัจจุบันวิธีนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมแล้ว เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างมากและซับซ้อนกว่าวิธีอื่นค่ะ
✨ทำอัลตร้าซาวนด์เพื่อบ่งบอกอายุครรภ์
วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณแม่ไม่สามารถทำเองได้ แต่ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์คำนวณอายุครรภ์ได้แม่นยำที่สุดค่ะ💯 เนื่องจากการอ้างอิงอายุครรภ์จากการมีประจำเดือนนั้นเหมาะสมสำหรับคุณผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาอย่างปกติหรือสม่ำเสมอเท่านั้น
จะเห็นแล้วนะคะว่าการนับอายุครรภ์ของคุณแม่นั้นสามารถทำได้หลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพอใจของคุณแม่ได้เลย หากเป็นไปได้ การทำอัลตร้าซาวนด์เพื่อนับอายุครรภ์ก็ถือเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด และยังอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ความแม่นยำจากการนับนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะช่วยให้แพทย์👨⚕️ช่วยติดตามพัฒนาการของเด็กๆในครรภ์ได้เช่นเดียวกันค่ะ