คุณผู้อ่านหลายๆท่านอาจเคยทราบมาบ้างว่า หลังจากจากคุณแม่คลอดเจ้าตัวน้อยมาหมาดๆ สายตาของทารกแรกเกิดจะยังไม่พัฒนาเต็มที่ ส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นนั้นไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน แต่สายตาของทารกก็จะค่อยๆดึขึ้นเองตามช่วงอายุที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น นั่นแปลว่า หากสายตาของทารกไม่ดีขึ้น หรืออาการแปลกๆของดวงตา👁️ ยกตัวอย่างเช่นตาเหล่ตาเขนั้นไม่ได้หายไปตามช่วงวัย อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลได้ วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านมาดูถึงปัญหาสายตาในทารกว่าจะมีปัญหาใดบ้าง หากเด็กๆในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายควรทำอย่างไร เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
ปัญหาที่เกิดได้ในทารกช่วงอายุ 0-2 ปี
ปัญหาตาเหล่หรือตาเข ดวงตาสองข้างทำงานไม่สอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน โดยปกติแล้วปัญหานี้เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทารกแรกเกิดที่มีอายุไม่เกิน 4 เดือน👶 หากเกินแล้วยังไม่หายถือเป็นสัญญาณที่ผิดปกติค่ะ
น้ำตาเอ่อบนดวงตา โดยปกติแล้ว เด็กทารกจะสามารถผลิตน้ำตาได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน แต่ปริมาณน้ำตาที่ผลิตได้ก็ไม่ควรที่จะมากเกินไป หากมีน้ำตาเอ่อเหมือนคนกำลังจะร้องไห้อยู่ตลอดเวลาบริเวณดวงตา😢 ก็อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติได้ค่ะ
ภายในดวงตามีลักษณะผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการที่ทารกมีจุดขาวจุดดำ จนไปถึงจุดห้อเลือด🩸ภายในดวงตา หรือการที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ว่าบริเวณตาดำกินพื้นที่มากกว่าบริเวณตาขาวมากกว่าคนปกติ
การที่หนังตาตกทั้งข้างเดียวหรือสองข้าง อาจเป็นสัญญาณของโรคตาล้าหรือตาขี้เกียจได้ค่ะ😵💫
เมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 3 เดือนแล้วยังไม่สามารถมองตามวัตถุหรือคุณพ่อคุณแม่ได้ จนไปถึงดวงตาไม่ไวต่อแสง☀️ เกิดแสงสว่างวาบแล้วทารกไม่ปิดตาตาม
ในเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะดาวน์ซินโดรม มักมีความผิดปกติของค่าสายตาตั้งแต่ยังยังเป็นทารก
ปัญหาที่เกิดได้ในทารกอายุ 2-5 ปี
ตาเหล่ตาเข🥴 ดวงตาทั้งสองข้างไม่ทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน
แน่นอนว่าหากเกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา ทำให้เด็กใช้สายตาไม่ได้เต็มที่ พัฒนาการทางด้านการมองเห็นก็อาจจะล่าช้า ส่งผลให้พัฒนาการทางด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันล่าช้าตาม ยกตัวอย่างเช่นพัฒนาการทางด้านการจดจำ🧠 การเลียนแบบ การเคลื่อนไหว เนื่องจากดวงตาไม่สามารถรับภาพเพื่อส่งต่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้
เด็กไม่สามารถมองตรงๆได้ ต้องเอียงคอเวลามอง🧐
เด็กมีอาการคันตา ตาแดง ห้อเลือด ระคายเคืองตา ทำให้ขยี้ตาบ่อยหรือกะพริบตามากผิดปกติ😉 มีขี้ตาเกาะบริเวณรอบเวงตามาก
ในช่วงวัยนี้ เด็กที่มีคุณพ่อคุณแม่หรือมีประวัติรอบตัวเป็นคนสายตาสั้นมากๆ มีโอกาสที่ค่าสายตาเด็กจะเริ่มมีปัญหาได้ตั้งแต่ช่วงวัยนี้
เด็กบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะหนักมาก🤕 เมื่อต้องใช้สายตา ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้สายตาหนัก
โรคที่ยอดฮิตอย่าง “ตาขี้เกียจ” (Lazy eye)
หากดูจากโรคแล้วเราอาจเดาอาการของโรคได้ค่อนข้างยาก โรคตาขี้เกียจนั้นไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยขี้เกียจใช้สายตาหรือลืมตาขึ้นมามองสิ่งรอบตัว แต่เป็นโรคที่เกิดจากการที่ดวงตาแต่ละข้างของผู้ป่วย มีความสามารถในการรับแสงและทำให้เกิดการหักเหของแสงไม่เท่ากัน นั่นทำให้ความสามารถในการรับภาพของตาแต่ละข้างไม่เท่ากันค่ะ ปกติแล้วเราไม่สามารใช้ชีวิตด้วยการมองด้วยตาข้างเดียวได้👁️ เมื่อตาข้างหนึ่งมองเห็นได้ปกติแต่อีกข้างนั้นขุ่นมัวจึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในอนาคตได้ค่ะ
คำถามคือ แล้วควรทำอย่างไรหากเด็กได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตาขี้เกียจ😵💫 แน่นอนว่าเด็กควรได้รับการดูแลรักษาจากจักษุแพทย์อย่างเร็วที่สุดค่ะ ช่วงอายุที่เมื่อได้รับการรักษาแล้วมีโอกาสหายดี ส่งผลต่ออนาคตของเด็กได้น้อยคือช่วงอายุไม่เกิน 8 ขวบค่ะ
หากได้รับการรักษาช้านั้น ตาของเด็กก็อาจจะพร่ามัว😵 แม้ในอนาคตจะรักษาให้ดีขึ้นได้แต่ก็อาจไม่กลับมามีความสามารถในการมองเห็นเท่าคนปกติ 100% อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่ความสามารถในการมองเห็นจะลดลงไปเรื่อยๆหรือไม่สามารถรักษาได้โดยถาวรค่ะ
จะเห็นแล้วนะคะว่าปัญหาสุขภาพดวงตา👁️ของเจ้าตัวน้อยนั้นมีค่อนข้างหลากหลายไม่แพ้พวกเราในวัยผู้ใหญ่เลย ทางที่ดีควรหมั่นสังเกตพัฒนาการการมองเห็นของเด็ก และพาเด็กๆไปตรวจค่าสายตาเป็นประจำ เหมือนที่พวกเราในวัยผู้ใหญ่มีการตรวจสุขภาพประจำปีกัน หากมีรอยโรคหรือสัญญาณผิดปกติของดวงตา แพทย์จะได้ช่วยวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ