post-title

คนตั้งครรภ์สามารถทานช็อกโกแลตได้ไหม

     สำหรับคุณผู้หญิงที่ชื่นชอบการทานช็อกโกแลตเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อตั้งครรภ์จึงมักเกิดคำถามขึ้นว่า “ในช่วงที่เราตั้งครรภ์จะยังสามารถทานช็อกโกแลตได้เหมือนเดิมหรือเปล่า?🍫” จริงๆต้องบอกเลยว่าคนท้องสามารถทานช็อกโกแลตได้นะคะ ดังนั้นวันนี้ทางเราจึงได้รวบรวมข้อดีและข้อเสียของการทานช็อกโกแลตระหว่างตั้งครรภ์มาให้คุณแม่ทราบพร้อมๆกันค่ะ💁‍♀️ 


ทำความรู้จัก 3 ประเภทของช็อกโกแลต

1. ช็อกโกแลตนม

ช็อกโกแลตนมจะมีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์🧈 (Cocoa butter) และนมพร่องมันเนย ถือว่าเป็นช็อกโกแลตชนิดที่คนส่วนใหญ่ค่อนข้างนิยมรับประทานและติดใจในรสชาติมาก ๆ👍 เพราะเป็นช็อกโกแลตที่ค่อนข้างมีรสชาติไม่ได้หวานมากนั่นเอง

2. ช็อกโกแลตแบบหวาน

ช็อกโกแลตแบบหวานน่าจะเป็นช็อกโกแลตที่ถูกอกถูกใจคุณแม่สายหวานอย่างยิ่ง🤤 เพราะด้วยรสชาติที่อร่อยและมีความหวานฉ่ำนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากคุณแม่ท่านใดที่ยังไม่เคยลองกินช็อกโกแลตชนิดนี้ หรือกำลังมองหาขนมหวานอร่อย ๆ ช็อกโกแลตหวานน่าจะเป็นหนึ่งในขนมที่คุณแม่ห้ามพลาดเด็ดขาดเลยค่ะ
3. ช็อกโกแลตขาว

ช็อกโกแลตขาว (White chocolate) ถือเป็นช็อกโกแลตที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโกโก้เหลว แต่จะมีการใช้ไขมันของโกโก้แทน จากนั้นก็จะนำน้ำตาล นมสด🥛 และกลิ่นวานิลลามาผสมลงไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นช็อกโกแลตที่มีรสชาติค่อนข้างหวานละมุน และมีสีสันสวย น่ารับประทาน😋


ประโยชน์ของช็อกโกแลตทานสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

✨ทำให้คุณแม่อารมณ์ดี

การที่คุณแม่ทานช็อกโกแลตระหว่างตั้งครรภ์นั้นสามารถช่วยลดความเครียดและทำให้คุณแม่รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นมาได้ โดยเฉพาะช่วงที่คุณแม่เกิดอาการเครียด🤯 การทานช็อกโกแลตก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้คุณแม่หลายคนคลายความกังวลใจ และรู้สึกดีขึ้นมาไม่น้อยเลยล่ะค่ะ


✨สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช็อกโกแลตจะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่จะเข้ามาช่วยทำให้หลอดเลือดของคุณแม่ขยายตัวได้ดี และเมื่อไหร่ที่หลอดเลือดในร่างกายของเราขยายตัวได้ดี ก็จะส่งผลทำให้ออกซิเจนและเลือดเข้าไปลำเลียงสมอง🧠ได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมองของคุณแม่นั่นเองค่ะ


✨ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL)

เมื่อไหร่ที่เรากินช็อกโกแลตเข้าไป🍫 สารฟลาโวนอยด์นอกจากจะส่งผลดีในเรื่องต่าง ๆ แล้ว สารชนิดนี้ยังจะเข้าไปช่วยเพิ่มระดับไขมันดีให้กับร่างกายของเราได้อีกด้วย ที่สำคัญไปกว่านั้นคือยังช่วยลดระดับไขมันที่ไม่ดีออกไปจากร่างกายของเราตามไปด้วยค่ะ

✨ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ (Heart disease)

ภายในช็อกโกแลตยังประกอบไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินอีกมากมายที่ค่อนข้างส่งผลดีต่อร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ และถ้าเมื่อไหร่ที่ร่างกายของคุณแม่ได้รับสารอาหารที่สำคัญได้อย่างเต็มที่ สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ🫀 โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกันค่ะ

✨ช่วยลดระดับความดันโลหิต (High blood pressure)
หากคุณแม่รับประทานช็อกโกแลตเข้าในระดับที่พอดีและเหมาะสม จะสามารถเข้าไปช่วยลดระดับความดันโลหิตให้กับร่างกายของคุณแม่ได้ค่อนข้างดีมาก ๆ อีกทั้งยังส่งผลทำให้ระบบไหลเวียนเลือด🩸ของคุณแม่ทำงานได้ดีตามไปด้วย และนอกจากระบบไหลเวียนเลือดที่ดีแล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังช่วยป้องกันการอุดตันในเส้นเลือดในร่างกายด้วยเช่นกัน

✨ช่วยลดการอักเสบ (Reduce inflammatory)

นอกจากนี้ในช็อกโกแลตยังมีสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ที่จะเข้าไปช่วยทำให้หลอดเลือดของคุณแม่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังช่วยลดการอักเสบ และช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ ทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี 💪กล่าวง่ายๆคือการทานช็อกโกแลตในปริมาณที่พอดี สิ่งนี้ก็สามารถช่วยส่งเสริมทำให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงได้เหมือนกันนะคะ


โทษของการทานช็อกโกแลตสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

✨เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หากคุณแม่รับประทานช็อกโกแลตที่มีรสหวานอยู่บ่อยๆ 🍫อาจทำให้คุณแม่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Diabetes) ได้อย่างมาก เนื่องจากในช็อกโกแลตนั้นประกอบได้ด้วยนำ้ตาลและครีมเป็นปริมาณมากนั่นเองค่ะ

✨เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน

การรับประทานช็อกโกแลตมากเกินพอดีในแต่ละวัน อาจจะทำให้คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนได้ค่ะ🐷 เพราะในช็อกโกแลตที่มีรสหวานอร่อยนั้นประกอบไปด้วยน้ำตาลในปริมาณสูง หากคุณแม่ทานช็อกโกแลตจนเพลิน จะเป็นการให้โทษมากกว่าประโยชน์ต่อร่างกายนะคะ🙅‍♀️

     หลังจากที่เราได้พาคุณแม่ไปทำความรู้จักกับช็อกโกแลต ประโยชน์และโทษของการทานช็อกโกแลตกันแล้ว ต้องบอกว่านอกจากความอร่อยที่คุณแม่จะได้รับไปแล้วนั้น การทานช็อกโกแลตยังค่อนข้างที่จะส่งผลดีให้กับร่างกายของคุณแม่ในหลาย ๆ ด้าน  แต่อย่างไรก็ตามหากทานช็อกโกแลตเข้าไปเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้ยับยั้งชั่งใจอะไรเลย จากที่คุณแม่จะได้ประโยชน์ อาจจะได้โรคภัยตามมาทีหลังได้อีกด้วยเช่นกัน ดังนั้นอย่าลืมปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👩‍⚕️หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับปริมาณในการทานที่เหมาะสมได้เลยนะคะ