โรคฝีดาษลิง🐒เป็นโรคประจำถิ่นในทวีปแอฟริกาที่มีการระบาดมายาวนานกว่า 20 ปี และโรคนี้มีความเสี่ยงสูงต่อเด็กเล็ก ถึงแม้โรคนี้จะยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย แต่คุณแม่ทุกท่านก็ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงเบื้องต้น วันนี้ทางเราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงและแนวทางการรักษาหากลูกน้อยของคุณแม่ติดเชื้อฝีดาษลิงมาให้คุณแม่ทราบค่ะ💁♀️
ฝีดาษลิงคืออะไร
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Orthopoxvirus ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) พบได้ในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู🐀 กระรอก🐿️ กระแต เป็นต้น โรคฝีดาษลิงจัดเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease)ในทวีปแอฟริกาเพราะมีการระบาดอยู่โดยทั่วไป
🐵สายพันธุ์ของโรคฝีดาษลิง
โรคฝีดาษลิงแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (Congo Basin) มีความรุนแรงมาก ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10%💀 และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (West African) มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แรก อัตราการเสียชีวิตต่ำ เพียง 1% ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้
การติดต่อของโรคฝีดาษลิง
👉การติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์
เกิดจากการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น หรือสามารถเกิดจากการสัมผัสแผลของสัตว์ที่ติดเชื้อ🦠 การถูกสัตว์ฟันแทะกัดและข่วน หรือแม้กระทั่งการนำเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อมาปรุงอาหารและรับประทาน
👉การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์
การติดต่อทางมนุษย์จะเป็นการติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือจากของใช้ของผู้ติดเชื้อ เป็นต้น คุณแม่ตั้งครรภ์🤰ที่ติดเชื้อมีโอกาสอย่างมากที่จะแพร่เชื้อสู่ทารกในระหว่างการทำคลอด
อาการของโรคฝีดาษลิง
✨ระยะที่ 1 : ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phrase)
ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้🤒 ปวดศีรษะ อ่อนเพลียและปวดเมื่อยกล้าม จะมีอาการประมาณ 5 วัน และที่สำคัญจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งอาการนี้ใช้เพื่อเป็นการแยกโรคฝีดาษลิงออกจากโรคอีสุกอีใส
✨ระยะที่ 2 : ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phrase) หลักจากมีไข้แล้ว ผู้ติดเชื้อจะมีผื่นขึ้นเป็นผื่นนูน และกลายเป็นตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และแตกเป็นสะเก็ดในที่สดุ ผื่นมักเกิดบริเวณใบหน้า👶และแขนขามากกว่าที่ลำตัว สามารถพบได้ที่เยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา ในช่องปาก และอวัยวะเพศ
การรักษาโรคฝีดาษลิง
👉รักษาด้วยการรับยาต้านไวรัส
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคฝีดาษลิงได้โดยตรง การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการโดยผู้ป่วยจะได้รับยาต้านไวรัส💊 เช่น Brincidofovir, Cidofovir หรือ Tecovirimat เป็นต้น
👉รักษาด้วยวิธีธรรมชาติ
โดยธรรมชาติของโรคฝีดาษลิงจะหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อเบื้องต้นได้โดยการงดแกะเกาผื่น รักษาความสะอาดของแผลไม่ให้อับชื้นเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ และหากมีอาการปวดและเป็นหนอง ควรเข้าพบแพทย์🧑⚕️เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด
ถึงแม้โรคฝีดาษลิงจะจัดเป็นโรคที่แนวโน้มการระบาดและอัตราการเสียชีวิตต่ำ แต่คุณแม่ทุกคนก็ไม่ควรมองข้ามโรคนี้ ควรทำความรู้จักกับการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อเป็นการป้องกันลูกน้อยให้ห่างจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ🦠โรคฝีดาษลิงในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้