post-title

ชีสเค้กแสนอร่อย คนท้องสามารถทานได้หรือเปล่า?

     ชีสเค้ก🍰ถือเป็นอีกหนึ่งของหวานยอดนิยมสำหรับผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นขนมที่ความกลมกล่อม หอมหวานละมุนลิ้น การได้รับประทานชีสเค้กจึงสามารถสร้างความผ่อนคลายภายหลังได้รับน้ำตาลให้แก่ผู้รับประทานได้ไม่ยาก แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น ขนมหวานประเภทนี้ถือเป็นสิ่งที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่เองและเจ้าตัวน้อยในครรภ์หรือไม่ เราไปหาคำตอบพร้อมๆกันได้เลยค่ะ💁‍♀️


ทำความรู้จักชีสเค้ก

แม้จะเป็นขนมหวานประเภทที่ค่อนข้างโด่งดัง แต่คุณผู้อ่านบางท่านอาจยังไม่ทราบถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการทำชีสเค้ก ซึ่งเจ้าวัตถุดิบเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการประกอบอาหาร และเป็นสารอาหารที่เราได้รับประทานเข้าไป ดังนั้นก่อนที่เราจะทราบว่าเราได้รับสารอาหารประเภทใดบ้างหลังการรับประทานชีสเค้ก เราจึงควรทราบถึงวัตถุดิบของมันกันก่อนค่ะ

🍰วัตถุดิบจำพวกครีม 

ไม่ว่าจะเป็นครีมชีส🧀 ครีมสด หรือครีมเทียม ซึ่งแล้วแต่สูตรในการทำของแต่ละเจ้า แต่แน่นอนว่าเจ้าชีสเค้กที่เรารับประทานกันนั้นต้องมีวัตถุดิบในกลุ่มนี้อย่างแน่นอนค่ะ

🍰วัตถุดิบจำพวกแป้งและน้ำตาล

ถูกนำมาประกอบอาหารหลายส่วนด้วยกันซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละเจ้าเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นชั้นหรือเลเยอร์ต่างๆของเค้ก หน้าเค้ก จนไปถึงองค์ประกอบในการตกแต่งหน้าเค้กค่ะ

🍰วัตถุดิบจำพวกแยม 

มักถูกใช้ประกอบการทำชั้นหรือเลเยอร์ของเค้กและการตกแต่งหน้าเค้กเช่นเดียวกันค่ะ

🍰วัตถุดิบจำพวกนม 

ไม่ว่าจะเป็นนมสด🥛 นมข้นหวาน หรือนมข้นจืด

🍰วัตถุดิบในกลุ่มผลไม้สด 

ซึ่งถูกใช้ประกอบการทำชั้นหรือเลเยอร์ของเค้กและการตกแต่งหน้าเค้กเช่นเดียวกันค่ะ🍓


สารอาหารที่ได้รับจากการรับประทานชีสเค้ก

    หากดูจากองค์ประกอบเบื้องต้นของชีสเค้กแล้ว หากจำแนกเป็นกลุ่มสารอาหารที่เราจะได้รับหลังรับประทาน และเรียงลำดับตามสารอาหารที่เรามีโอกาสจะได้รับมาก จะสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ค่ะ

สารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต 

ซึ่งจัดว่าเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย💪 และยังจัดเป็นสารอาหารกลุ่มหลักที่เราจะได้รับหลังการรับประทานชีสเค้กอีกด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่ได้มาจากทั้งส่วนของครีม แป้ง น้ำตาล แยม นม และผลไม้สด ทำให้เราแทบไม่มีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงสารอาหารในกลุ่มนี้ได้เลยหากรับประทานขนมหวาน ไม่เพียงแต่ขนมประเภทชีสเค้กค่ะ

สารอาหารในกลุ่มไขมัน

 จัดว่าเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นเดียวกัน และหากเทียบกับสารอาหารที่ให้พลังงานต่อร่างกายในกลุ่มอื่นๆ ในปริมาณที่เท่ากัน ไขมันยังเป็นกลุ่มที่ให้พลังงานสูงที่สุดอีกด้วย โดยเรามีโอกาสที่จะได้รับไขมันจากองค์ประกอบประเภทครีม นม🐄 รวมถึงผลไม้บางชนิดเองอีกด้วยค่ะ

สารอาหารในกลุ่มโปรตีน 

แม้จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ก็จัดว่าเป็นกลุ่มที่เราจะได้รับค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังถือว่าได้รับค่ะ โดยเราจะสามารถได้รับมาจากองค์ประกอบในกลุ่มครีมและนมค่ะ

สารอาหารในกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุ 

จะเป็นกลุ่มที่ไม่ให้พลังงาน รับประทานเข้าไปก็ไม่ได้เสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคอ้วน🐷 แต่เราก็จะได้รับในปริมาณที่น้อยมากอยู่ดีจากการรับประทานขนมหวาน โดยเราจะได้รับสารอาหารในกลุ่มนี้จากองค์ประกอบในกลุ่มนมและผลไม้สดค่ะ

ความเสี่ยงจากการรับประทานชีสเค้ก

คุณผู้อ่านจะเห็นได้จากสองหัวข้อก่อนหน้าแล้วนะคะว่าในการรับประทานชีสเค้กแต่ละครั้ง เรามีโอกาสจะได้รับสารอาหารประเภทไหนบ้าง ซึ่งก็ชัดเจนค่ะว่าสารอาหารหลักที่เราจะได้รับคือคาร์โบไฮเดรต เมื่อเรารับประทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไปในปริมาณมากๆและร่างกายใช้พลังงานจากมันไม่หมด โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะเปลี่ยนเจ้าคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินเหล่านี้ให้เป็นสารอาหารจำพวกไขมันค่ะ และเจ้าไขมันเหล่านี้ก็จะสะสมอยู่ตามอวัยวะภายในร่างกายของเรา นอกจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคเบาหวานแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคอ้วน โรคไขมันพอกตับ โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง🩸 โรคหัวใจ🫀 และโรคเกี่ยวกับสมองตามมาได้ค่ะ ยิ่งในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรถ์ ก็มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ทารกในครรภ์เป็นเบาหวานหลังคลอดค่ะ

     อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเสี่ยงมากมายหากรับประทานเกินปริมาณที่เหมาะสม แต่หากคุณแม่อยากรับประทานจริงๆก็สามารถทำได้ค่ะ โดยในวันที่รับประทานชีสเค้กอาจลดของหวานหรือน้ำหวานชนิดอื่นๆลง และรับประทานในปริมาณน้อยๆให้พอหายอยาก😋 ก็จะช่วยแก้ปัญหาความอยากรับประทานของคุณแม่ได้ ดีกว่าอดอาหารแล้วเกิดความเครียดค่ะ