post-title

อัปเดตกฎหมายอุ้มบุญ ปี 2567

         เนื่องเด็กไทยมีอัตราการเกิดน้อยลงมาก ปี 2565 ที่เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 70 ปีที่ผ่านมา กรมสบส.จึงดำเดินหน้าพิจารณาแนวทางดูแลหญิงตั้งครรภ์แทน แก้ไข "กฎหมายอุ้มบุญ"🤰 ให้มีระบบประกันสุขภาพรองรับ โดยเรื่องนี้เป็นมาอย่างไร เราไปดูกันเลยค่ะ (ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ)


แก้กฎหมายอุ้มบุญ

✅เกิดอะไรขึ้น?

เนื่องจากในปี 2565 ที่ผ่านมานี้มีจำนวนเดิกที่เกิดใหม่👶 เพียง 485,085 ราย ซึ่งนับว่าน้อยที่สุดในรอบกว่า 70 ปี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) จึงปรับปรุงพรบ.อุ้มบุญ โดยเปิดให้คู่สมรสที่มีทะเบียนสมรสตามกฎหมายสามารถอุ้มบุญได้ รวมถึง คู่สมรสเพศเดียวกัน โดยเมืองไทยได้อนุญาตให้อุ้มบุญแล้วกว่า 700 คน เตรียมปรับคนต้องรับดูแลเด็กต่อ กรณีคู่สมรสเสียชีวิต จะต้องไม่ผลักภาระให้หญิงรับอุ้มบุญ

โดยหากย้อนไปตั้งแต่ปี 2561 จะพบได้มีการเกิดใหม่ของประชากรไทยลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี

ข้อมูลการเกิดใหม่ของประชากรไทย จำนวนเด็กเกิดใหม่ 5 ปีย้อนหลังมีการลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปี  2561 จำนวน 666,357 คน

ปี  2562 จำนวน 618,193 คน

ปี 2563 จำนวน  587,368 คน

ปี 2564 จำนวน  544,570 คน

ปี 2565 จำนวน 485,085 คน (น้อยที่สุดในรอบกว่า 70 ปี)

โดยเป็นตัวเลขที่สวนทางกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


กำลังมีการพิจารณาอะไรบ้าง?

✅คู่สมรสเพศเดียวกันสามารถทำการอุ้มบุญได้?

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ได้กล่าวว่า "กรมกำลังดำเนินการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพรบ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 หรือกฎหมายอุ้มบุญ โดยมีการกำหนดให้สามารถดำเนินการได้ในคู่สมรส💍 ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเพศชายกับเพศหญิง ดังนั้น หากเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายก็สามารถทำอุ้มบุญได้แต่ต้องบอกรายละเอียด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนของกรม ก่อนนำเสนอครม.อีกครั้ง" (กุมภาพันธ์ 2567)

✅หญิงอายุมากกว่า 55 ปีก็สามารถให้หญิงอื่นอุ้มบุญแทนได้

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีสบส. เผย ประเทศไทยมีอัตราความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 46 % ในปี 2566 เป็น 48 % ในปี 2567 ดยสบส.อยู่ระหว่างการจัดทำ ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. … ฉบับใหม่  ได้แก่

📜การปรับแก้ไขคุณสมบัติผู้รับบริจาคไข่ ให้ญาติสืบสายโลหิตของภริยา ที่มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี และไม่จำเป็นจะต้องผ่านการสมรสสามารถเป็นผู้บริจาคไข่ได้

📜การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนของภริยาที่มีอายุ 35 ปี  สามารถตรวจวินิจฉัยได้ตามที่แพทย์หรือผู้ให้บริการเห็นว่ามีความจำเป็นและสมควร

📜การปรับแก้เพดานอายุหญิงที่เป็นภรรยาที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนโดยหญิงอื่น หรือการให้หญิงอื่นอุ้มท้องแทน จากเดิมหญิงอายุเกิน 55 ปี ไม่สามารถให้หญิงอื่นอุ้มบุญแทนได้ ตอนนี้มีการปลดล็อคให้อายุมากกว่า 55 ปี สามารถดำเนินการได้


ต่างชาติสามารถมาทำอุ้มบุญในไทยได้

✅เดิมในกฎหมายมีการระบุไว้ว่า...

หญิงหรือชายที่จะเข้ารับบริการอุ้มบุญนั้นจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น แต่อนุกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ รายมาตรา ได้มีการเสนอให้สามารถอนุญาตให้ชาวต่างชาติ🛬 ที่เป็นคนต่างชาติทั้งคู่ เข้ามารับบริการทำอุ้มบุญในประเทศไทยได้ โดยคู่สมรสสามารถพาซึ่งหญิงที่จะให้ตั้งครรภ์แทนมาเองได้  หรือจะเป็นหญิงไทยก็ได้ แต่จะต้องเป็นไปตามกลไกกฎหมาย และตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

✅ทพ.อาคมกล่าวว่า...

 “ขณะนี้เป็นที่จับตาของชาวต่างชาติ หาก ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่สำเร็จและเปิดให้ต่างชาติมาทำอุ้มบุญแบบถูกกฎหมาย กลไกของเศรษฐกิจสุขภาพน่าจะเข้ามาพอสมควร อย่างไรก็ตาม จะมีแนวทางป้องกันการลักลอบค้ามนุษย์ จะมีรายละเอียดแนวทางต่างๆ ที่จะป้องกัน การค้ามนุษย์ในประเทศไทยหรือการส่งออกมนุษย์ไปต่างประเทศ”🗺️

(ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)