post-title

ทำความรู้จัก “ออทิสติกในเด็ก” สาเหตุ แนวทางการรักษา

     ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่จะมีเจ้าตัวน้อยนั้น ประเด็นหนึ่งที่หลายๆครอบครัวอาจรู้สึกเป็นกังวลก็คือประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดหรือโรคประจำตัว วันนี้บทความของเราพาคุณผู้อ่านมารู้จักถึงอีกหนึ่งภาวะทางสุขภาพและพัฒนาการของเด็กๆที่อาจเคยผ่านหูผ่านตาของคุณผู้อ่านมาบ้างแล้ว นั่นก็คือภาวะออทิสติกนั่นเอง จะสังเกตอย่างไรว่าลูกๆของเราเสี่ยงหรือเข้าข่ายที่จะมีภาวะออทิสติกหรือไม่🤔 หากเด็กๆเสี่ยงที่จะมีภาวะดังกล่าวควรทำอย่างไรเพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างเป็นปกติในอนาคต บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ แต่ก่อนอื่น เราไปเริ่มต้นทำความรู้จักเกี่ยวกับภาวะออทิสติกกันก่อนเลยค่ะ💁‍♀️


ทำความรู้จักโรคออทิสติกเบื้องต้น

ภาวะหรือโรคออทิสติกนั้น ปัจจุบันถูกเรียกด้วยคำที่คล้ายกันหลายชื่อมากๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโรคออทิสติก (Autistic Disorder)  โรคออทิสซึม (Autism) หรือออทิสติกสเปกตรัม (Autistic Spectrum Disorder) ที่กล่าวถึงกลุ่มอาการหรือภาวะต่างๆโดยรวมที่เข้าข่ายโรคออทิสติก สำหรับโรคออทิสติกแท้ ไม่ใช่โรคออทิสติกเทียม มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม🧬ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสารไม่เป็นไปอย่างปกติ ซึ่งผู้ปกครองมักจะสังเกตได้ตั้งแต่เด็กเริ่มจะปฏิสัมพันธ์กับตนเองได้ และเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่เลยค่ะ ซึ่งโรคหรือภาวะออทิสติกนั้นยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาความรุนแรงของโรคได้ผ่านการฝึกฝนและการรักษาจาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

👉ความบกพร่องที่เกิดจากโรคออทิสติก

เด็กที่เป็นโรคหรือมีภาวะออทิสติก จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆตามลักษณะกลุ่มอาการหรือทักษะที่บกพร่องได้ดังนี้ค่ะ

  1. เด็กที่บกพร่องทางด้านการพูดและการสื่อสาร🗣️ โดยปกติแล้วเจ้าตัวน้อยจะเริ่มส่งเสียงหรือใช้ท่าทางเพื่อช่วยในการสื่อสารได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ขวบปี และเมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่งจะเริ่มพูดออกเสียงเป็นคำที่มีความหมายได้แล้ว เมื่อเติบโตจนถึงช่วงที่มีอายุได้ประมาณ 2 ขวบปีเด็กจะเริ่มพูดคำที่ยาวขึ้น หรือมีการออกเสียงตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป และเป็นคำที่มีความหมายได้ หากเจ้าตัวน้อยของเราไม่มีพฤติกรรมหรือพัฒนาการตามที่กล่าวมานี้ ก็อาจเข้าข่ายเด็กที่เสี่ยงมีพัฒนาการช้ากว่าวัย หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคออทิสติกค่ะ

  2. เด็กที่บกพร่องในด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคม👯‍♂️ ผู้ปกครองอาจสังเกตเห็นความบกพร่องนี้ได้เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2 ขวบปี อาการอาจจะเริ่มต้นเบาๆจากการที่เด็กติดผู้ปกครองมากกว่าปกติ ไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับใครเลยนอกจากผู้ปกครอง จนไปถึงอาการที่ต่างกันสุดขั้วอย่างการไม่รู้สึกกลัวคนแปลกหน้าเลย ชอบอยู่คนเดียวอย่างสันโดษ ไม่ค่อยมีเพื่อนหรือสุงสิงกับเด็กคนอื่นๆ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางสังคม ณ เวลานั้นๆ ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ค่อนข้างยาก

  3. เด็กที่มีพฤติกรรมและความสนใจแคบ🙉 เป็นแบบแผนซ้ำๆ สามารถสังเกตได้จากสิ่งเล็กๆน้อยๆได้เช่นเดียวกัน เช่นการที่เด็กไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับของเล่นตามวิธีเล่นของมันจริงๆ สนใจในการเล่นแบบเดิมซ้ำๆ ทำกิจกรรมซ้ำๆ สนใจแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจนถึงขั้นหมกมุ่น ไม่ทำอย่างอื่นหรือพยายามปฏิสัมพันธ์กับสิ่งอื่นเลย จนไปถึงการมีประสาทสัมผัสที่อ่อนไหวมากเกินไปหรือน้อยเกินไปต่อสิ่งเร้ารอบตัว

  4. เด็กที่มีพฤติกรรมอื่นๆที่ไม่สามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่ได้ แต่ยังมีอาการที่เข้าข่าย ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ สติปัญญา🧠 สมาธิสั้น อยู่นิ่งไม่ได้ มีการกระตุ้นตัวเองในพฤติกรรมเดิมๆซ้ำๆเป็นแบบแผน เช่นการนั่งโยกตัวไปมา เคาะวัตถุซ้ำๆอย่างหยุดไม่ได้ มีปัญหาในการควบคุมและจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเอง ที่อาจรุนแรงไปถึงการทำลายสิ่งของ ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น


    แนวทางการรักษาโรคออทิสติก

    หากเจ้าตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายในการเป็นโรคออทิสติก สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือการจดจำอาการหรือพฤติกรรมของลูกแล้วนำมาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👩‍⚕️ด้านพัฒนาการเด็กและจิตแพทย์เด็ก โดยจะมีแนวทางการรักษาดังนี้ค่ะ

  • กระตุ้นให้เด็กใช้ทักษะและแก้ไขในพัฒนาการหรือพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

  • ช่วยเหลือด้านการเรียนตามศักยภาพของเด็กอย่างเหมาะสม

  • ใช้ยารักษาเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายของเด็ก

     อย่างที่กล่าวไปว่า ถึงแม้โรคหรือภาวะออทิสติกนั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการต่างๆให้หายขาดได้🙅‍♀️ แต่หากผู้ปกครองสังเกตความผิดปกติของพัฒนาการและพฤติกรรมของลูกๆตนเอง แล้วนำมาปรึกษาแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ก็มีโอกาสจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้น เด็กก็จะสามารถเติบโตไปโดยมีพัฒนาการที่ปกติสมวัย สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมอย่างเป็นปกติได้ค่ะ👶