post-title

วิธีเปลี่ยนลูกหวงของให้รู้จักแบ่งปัน

     “อันนั้นของหนูนะ !” 😫 วลีที่คุณแม่อาจจะเคยได้ยินออกมาจากปากเจ้าตัวน้อยอยู่บ่อยๆ ในวัย 2-3 ขวบ อาการหวงของเล่น เช่น ตุ๊กตา หมอน หรือผ้าห่ม ลูกไม่อยากให้ใครมาหยิบจับ หรือใช้สิ่งนั้นร่วมกับตัวเขา แม้แต่คุณพ่อคุณแม่เอง เรามีวิธีจัดการนิสัยหวงของของลูก และสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน มาดูไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️ 


ทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมหวงของ

เพราะเด็กในวัยนี้จะรับรู้เฉพาะความต้องการของตัวเองเท่านั้น 

เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องประสบพบเจอกับสถานการณ์ “ลูกเอาแต่ใจ” และ “หวงของ” ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กๆในวัย 2- 3 -ขวบค่ะ สิ่งที่เด็กมักจะหวงเช่น ของเล่น ตุ๊กตา หมอน หรือผ้าห่ม เมื่อใครมาหยิบจับ แม้แต่คุณพ่อคุณแม่ก็จะแสดงอาการไม่พอใจทันที😤 ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ไม่ยาก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า การที่ลูกเอาแต่ใจ หรือลูกหวงของนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ทุกคน เด็กเล็กมักจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของทุกอย่าง เมื่อมีใครมาหยิบจับของเล่นของตัวเอง🧸 ก็มักจะรีบทวงของคืนอย่างรวดเร็ง หากคุณแม่พบเจอเหตุการณ์นี้ อย่าตกใจจนคิดมากว่า “ลูกเอาแต่ใจ ลูกไม่แบ่งปันแบบนี้ จะเข้ากับเพื่อนในโรงเรียนได้ไหม?” หรือ “เมื่อโตไป ลูกจะก้าวร้าว อารมณ์รุนแรงไหมนะ?” ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย 


รับมือกับอาการหวงของด้วยการเสริมสร้างความฉลาดเข้าสังคม ดังต่อไปนี้

เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก โดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีน้ำใจและการแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น✅ เพราะลูกจะเลียนแบบและจดจำพฤติกรรมจากพ่อแม่ ทำให้ลูกค่อยๆซึมซับนิสัยการแบ่งปัน

ระวังการลงโทษอย่างผิดวิธี

เมื่อพบว่าลูกมีอาการหวงของและไม่ยอมแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำการลงโทษให้ลูกรู้สึกอับอายหรือเสียหน้าต่อผู้อื่น เพราะลูกจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และอาจทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่มีนิสัยก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น🤬 เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็นๆและค่อยๆบอกค่อยๆสอนลูก ไม่ควรใช้วิธีดุลูก🙅‍♀️

ชื่นชมเมื่อลูกแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น

เมื่อลูกเริ่มรู้จักนิสัยการแบ่งปันสิ่งของต่างๆให้แก่ผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่ควรกล่าวคำชมเชยให้ลูกเห็น👏 ลูกจึงจะเข้าใจว่าการทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี จะทำให้เขามีความภาคภูมิใจแก่ตนเอง

ใช้เหตุผลในการอธิบายเวลาหยิบสิ่งของลูก

คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าจะหยิบสิ่งของของพวกเขาไปทำอะไร เพราะอะไร จะทำให้ลูกเข้าใจว่าเราไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะไปแย่งสิ่งของของเขา เช่น แม่จะหยิบหมอนของลูกไป เพราะแม่จะนำหมอนของลูกไปซักทำความสะอาด เพราะถ้าหมอนไม่สะอาดจะทำให้ลูกป่วยได้ และควนสอนให้ลูกรู้ว่าของทุกชิ้นในบ้านไม่ได้เป็นของเขาคนเดียว ทุกคนในบ้านสามารถใช้ร่วมกันได้👨‍👩‍👧 เช่น ทีวี โซฟา🛋️ เก้าอี้ เป็นต้น

     ทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่าอาการหวงของ ไม่ได้เป็นอาการที่น่ากังวลใจนะคะ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความอดทน และใจเย็น ต้องค่อยๆสอนเขาให้เข้าใจเหตุและผล🗣️ เมื่อลูกโตขึ้นมากกว่านี้ อาการหวงของก็จะค่อยๆหายไปเอง และควรใช้วิธีการปรับพฤติกรรมจากลูกเอาแต่ใจ ให้กลายเป็นเด็กที่แบ่งปันและมีน้ำใจต่อคนรอบข้างด้วยนะคะ