post-title

อาการท้องเสียกับยายาปฏิชีวนะ?

     คุณแม่ตั้งครรภ์เคยสังเกตตัวเองไหมค เมื่อทานยาปฏิชีวนะเข้าไปแล้วจะมีอาการท้องเสีย💩 ขับถ่ายเหลว วันนี้ทางเราจะพาคุณแม่ไปทำความรู้จักกับอาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated Diarrhea) อาการนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️ 


สาเหตุและลักษณะอาการท้องเสียเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะ

สาเหตุที่คุณแม่มีอาการท้องเสีย

สาเหตุที่คุณแม่มีอาการท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เกิดมาจากการที่ยาปฏิชีวนะที่ทานเข้าไปสู่ร่างกายนั้นไปรบกวนหรือเปลี่ยนแปลงสมดุลของแบคทีเรียธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ส่งผลให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียธรรมชาติในลำไส้ลดลง ทำให้เชื้อก่อโรคเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น🦠 จึงสร้างและหลั่งสารพิษทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรตหรือไม่สามารถย่อยสลายน้ำดีได้ และอีกคนนึงอาจจะเกิดจากการที่ยาปฏิชีวนะบางชนิดจะไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้ คือ เชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์🧫 (C. difficile)

ลักษณะอาการ

ลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง : คุณแม่จะมีอาการท้องเสีย💩 เป็นอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง

ลักษณะอาการที่รุนแรง :  นอกจากอาการท้องเสียแล้ว คุณแม่จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ มีไข้🤒 อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง

โอกาสในการเกิดอาการท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

อาการนี้พบได้ร้อยละ 5 – 25 โดยอาจเกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นของการได้รับยาจนถึงภายหลังหยุดยาไปแล้วประมาณ 2 เดือน ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 

👉อายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

👉ระยะเวลาการรักษาตัวของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีประวัตินอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานมากกว่า 4 สัปดาห์

👉ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือยาเคมีบำบัด ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาลดกรด ผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (C. difficile) ได้รวมไปถึงผู้ป่วยที่ใส่สายยางให้อาหารทางจมูก หรือได้รับการทำหัตถการของระบบทางเดินอาหาร

👉ชนิดของยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยได้รับ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

✨ยาคลินดาไมซิน

✨ยากลุ่มเพนนิซิลลิน เช่น แอมพิซิลลิน, อะม็อกซิซิลลิน, อะม็อกซิซิลลิน/คลาวูลานิก แอซิด เป็นต้น

✨ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน เช่น เซฟิซิม, เซฟดิเนียร์ เป็นต้น

✨ยากลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน เช่น ซิโพรฟล็อกซาซิน, ลีโวฟล็อกซาซิน, ม็อกซิฟล็อกซาซิน เป็นต้น


วิธีการรักษาและป้องกันอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ

วิธีการรักษา

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นและหายได้เองหลังจากหยุดใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากพบว่ามีอาการรุนแรงหรือผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์แพทย์👩‍⚕️เพื่อให้แพทย์จ่ายสารนํ้าทดแทนและควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วยนะคะ

วิธีการป้องกัน

คุณแม่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง🙅‍♀️ ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อที่แพทย์จะได้จ่ายยาให้ได้ถูกประเภท หากคุณแม่ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วพบอาการท้องเสีย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการทำการรักษาอย่างทันทีทันใด ไม่ควรหาซื้อยามาทานเองเพื่อบรรเทาอาการ เพราะอาจจะทำให้อาการแย่ลงก็เป็นไปได้ค่ะ

    ทราบกันแล้วใช่ไหมคะถึงสาเหตุของอาการ และวิธีการรักษาอาการท้องเสียเมื่อคุณแม่รับประทานยาปฏิชีวนะเข้าไป💊 ยาปฏิชีวนะนั้นถือเป็นยาที่ค่อนข้างอันตราย ทางเราแนะนำให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยววชาญก่อนใช้ยาทุกครั้ง และควรเลี่ยงการซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกภายในครรภ์ได้