post-title

สอนอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน?

     คุณแม่อาจจะพบเจอกับปัญหาที่ลูกไม่ยอมเชื่อฟังสิ่งที่สอน มีปฏิกิริยาต่อต้าน ในบางรายอาจจะปิดหูไม่ยอมฟัง หรืออาจจะเดินหนีไปเลยก็ได้ แต่ที่จริงแล้วก่อนที่จะคุณจะทำให้ลูก ๆ หันมาฟังคุณพ่อคุณแม่พูดนั้น พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่างก่อน และใช้จุดนี้เป็นสอนให้ลูกรู้จักทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี แล้วควรทำอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังโดยไม่ต่อต้าน ทางเราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้คุณแม่ทราบพร้อมๆกันแล้วค่ะ💁‍♀️


วิธีการสอนลูกให้เชื่อฟังโดยที่ลูกไม่ต่อต้าน ควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

น้ำเสียงที่ใช้ในการพูด

ทราบหรือไม่คะว่าน้ำเสียงที่คุณพ่อคุณแม่ใช้พูดนั้นเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อปฏิกิริยาของลูก การใช้เสียงดัง การขึ้นเสียง  การจะโกน ลูกจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่ออะไร ลูกเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังดุเขา ซึ่งอาจจะส่งผลให้ลูกไม่อยากฟัง🙉 หรือไม่ปฏิบัติตาม เพราะลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เริ่มพูดจาจู้จี้จนเกินไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใช้ระดับน้ำเสียงที่อ่อนโยนเพื่ออธิบายให้ลูกอย่างใจเย็นนะคะ

ควรสบตาลูกขณะสอน

รู้ไหมคะว่าใช้การสบตา👁️ การใช้คำพูดที่ชัดเจนและใช้ระดับน้ำเสียงที่อ่อนโยนจะทำให้ลูกอยากฟังแล้ว ภาษากายเองก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูก ๆ เรียนรู้ที่จะรับฟัง ดังนั้นเมื่อจะรับฟังสิ่งที่ลูกพูด ควรย่อตัวลงไปในระดับที่เท่ากันกับความสูงลูก เพื่อทำการสบตาและตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด เช่นเดียวกันกับเวลาที่พ่อแม่จะพูด ก็จะทำให้ลูกเข้าใจง่ายขึ้นและยินดีที่จะเชื่อฟัง👂

ฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

ควรงดการใช้ประโยคคำสั่งอย่างคำว่า “ไม่” “อย่า” “ห้าม”🙅‍♀️ เพราะเมื่อเด็กรู้สึกว่าถูกกีดกันหรือถูก อาจจะทำให้เขากลายเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่น ไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง ในทางกลับกันคุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการฝึกให้ลูกใช้ความคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง🧠 เพื่อที่ลูกจะได้ฝึกการใช้ความคิดแก้ปัญหา และเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าสิ่งที่ลูกทำไม่ถูกต้อง ควรยื่นมือเข้าไปชี้แนะเพื่อช่วยลูกแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องนะคะ


และรวมไปถึงวิธีเหล่านี้อีกด้วย

สอนลูกให้รู้จักอดทนและใจเย็น

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักฝึกความอดทนและความใจเย็นตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ ลูกควรจะเป็นทางผู้พูดและผู้ฟังที่ดี และต้องรู้จักการพึ่งพาตัวเอง ก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเสมอ หากลูกเป็นเด็กที่ไม่มีความอดทน😡 หรือไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาและขอความช่วยเหลือจากคนอื่นอยู่ทุกเมื่อนั่นเอง ซึ่งอาจจะสร้างความลำบากใจโดยเฉพาะในเวลาที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ๆ 

สร้างข้อตกลงร่วมกัน

การที่คุณพ่อคุณแม่สร้างข้อตกลงร่วมกับลูก จะเป็นการช่วยลดการทะเลาะเบาะแว้งกันได้มากทีเดียว✅ เพราะการสร้างข้อตกลงร่วมกันจะเป็นการหาจุดกึ่งกลางระหว่างทั้งฝั่งคุณพ่อคุณแม่และฝั่งลูก ซึ่งถือเป็นการประนีประนอมกัน แล้วลูกจะรับรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ยังเคารพในสิทธิของพวกเขา ไม่ทำตัวเป็นใหญ่แต่เพียงฝ่ายเดียว

     ทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่าการที่จะทำให้ลูกฟังสิ่งที่พ่อแม่พูดนั้นจัดเป็นงานที่ท้าทายอย่างมาก และถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่ดี และควรปลูกฝังสิ่งนี้ให้ลูกด้วยเช่นกัน เพราะพ่อแม่ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ ดังนั้นเมื่อลูกเดินเข้ามาหาเพื่อต้องการจะพูดคุย หรือปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่🗣️ ควรหยุดการทำทุกอย่างที่ทำอยู่และหันมาสนใจฟังในสิ่งที่ลูกกำลังพูด คอยสบตาลูกระหว่างพูดคุย และไม่ขัดจังหวะในขณะที่ลูกพูด ลูกจะเห็นได้ถึงความห่วงใยและกล้าที่จะพูดคุยกับพ่อแม่อย่างเปิดใจ อีกเรื่องสำคัญคือน้ำเสียงที่ใช้ในขณะที่กำลังพูดคุยกับลูก เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ใช้น้ำเสียงที่ดุดัน ตะคอก หรือขึ้นเสียง จะทำให้ลูกเกิดการต่อต้าน และไม่อยากรับฟังนั่นเองค่ะ🙉