post-title

เตือน! แม่ท้องขาดโฟลิกอาจทำให้ทารกไม่มีกะโหลกและสมอง

     สารอาหารอย่างโฟลิก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสารอาหารจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์🤰 หรือแม้กระทั่งคุณแม่ที่วางแผนจะมีบุตร ควรรับประทานกรดโฟลิกเสริมก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน หากคุณแม่ท้องได้รับโฟลิกไม่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกไม่มีกะโหลกและสมองได้ จะอันตรายขนาดไหน เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


ความอันตรายของการขาดโฟลิกในแม่ท้อง

การขาดโฟลิกเป็นสาเหตุของโรคความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาท 

หรือที่เรียกว่าโรคมนุษย์กบ🐸 (Anencephaly) ถือเป็นโรคที่เกิดจากท่อระบบประสาทผิดปกติ (Neural Tube Defect) ชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดและพบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณ 1.2-1.7 ต่อ 1,000 ของการคลอด และเกิดขึ้นกับทารกเพศหญิง👧มากกว่าเพศชาย (อัตราส่วน 4:1)


แม่ท้องสามารถป้องกันภาวะทารกไม่มีกะโหลกศีรษะได้อย่างไร

รับประทานกรดโฟลิคให้เพียงพอ

สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่าคนท้องควรได้รับมากกว่าคนปกติ โดยปริมาณที่แนะนำ คือ 600 ไมโครกรัม/วัน ในขณะที่คนปกติควรได้รับวันละ 400 ไมโครกรัม/วัน เพราะกรดโฟลิค (โฟเลต) ช่วยให้กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ🧬 (DNA) ซึ่งเป็นยีนหรือสารพันธุกรรม และสังเคราะห์กรดอะมิโนอีกหลายตัว รวมทั้งมีความจำเป็นในการแบ่งตัวเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง

แหล่งอาหารธรรมชาติที่มีโฟลิค

กรดโฟลิคพบมากในผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี🥦 ผักโขม คะน้า กะหล่ำ ผัดกาด🥬 ดอกกุยช่าย รวมทั้ง มะเขือเทศ แครอท🥕 ข้าวโพด ส้ม ตับไก่ ตับหมู กุ้ง หอย ปู ปลา ธัญพืช ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น และ

     อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการรับประทานโฟลิคให้ถูกวิธีด้วยเช่นกัน✅ เพราะโฟเลตถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ถ้าอาหารที่ต้องหั่นชิ้นเล็กๆ หุงต้มนานๆ ก็จะสูญเสียโฟเลตไป ดังนั้นการทานอาหารที่สด จะทำให้คุณแม่ได้รับโฟเลตที่สูงกว่า แต่ถ้าต้องทำให้สุกจริงๆ ก็ไม่ควรใช้เวลานานในการหุงต้มนานจนเกินไป และอีกกรณีหนึ่งคือ หากคุณแม่ได้รับกรดโฟลิกในปริมาณมากจนเกินไป ก็จะเป็นอันตรายกับร่างกาย ถึงแม้ว่าร่างกายสามารถขับโฟลิกออกทางอุจจาระ💩 และปัสสาวะได้ก็ตาม