เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเด็กๆในวัยทารกนั้นใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ะวันไปกับการนอนหลับ เนื่องจากเป็นวัยที่พัฒนาการทางด้านร่างกายยังไม่เอื้ออำนวยในการทำกิจกรรมอื่นๆ แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเจ้าตัวน้อยของเรานั้นนอนหลับมากเกินไปหรือไม่ กำลังป่วยเป็นอะไรหรือมีอะไรผิดปกติหรือเปล่าจึงต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ ต้องนอนหลับนานแค่ไหนจึงจะถือว่าเหมาะสม เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนอนของเด็กแต่ละวัย
สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 1 เดือน
โดยปกติ เด็กควรใช้เวลานอนกลางวัน 8-9 ชั่วโมง และนอนตอนกลางคืนอีก 8-9 ชั่วโมงพอๆกับช่วงนอนกลางวัน แปลว่าทั้งวันแล้ว เด็กจะได้นอนหลับพักผ่อนประมาณ 16-18 ชั่วโมงค่ะ
สำหรับเด็กที่มีอายุประมาณ 2 เดือน
เด็กควรใช้เวลานอนกลางวันประมาณ 7-9 ชั่วโมงค่ะ และใช้เวลานอนในช่วงกลางคืนอีกประมาณ 8-9 ชั่วโมง เบ็ดเสร็จแล้ว ทั้งวันเด็กควรได้รับการนอนหลับพักผ่อน😴ประมาณ 14-17 ชั่วโมงค่ะ
สำหรับเด็กที่มีอายุประมาณ 3 เดือน
เด็กควรได้เวลานอนกลางวันประมาณ 4-8 ชั่วโมง และเวลานอนกลางคืนอีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง โดยรวมแล้วเด็กจะใช้เวลานอนหลับไปประมาณ 16-18 ชั่วโมงค่ะ
สำหรับเด็กที่มีอายุประมาณ 4 เดือนถึง 12 เดือนหรือหนึ่งขวบปีนั่นเอง
เด็กควรใช้เวลานอนกลางวันค่อนข้างสั้นลง ซึ่งก็คือประมาณ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น และใช้เวลานอนกลางคืนยาวนานถึง 10-12 ชั่วโมง เบ็ดเสร็จแล้ว ในหนึ่งวัน เด็กควรใช้เวลาไปกับการนอนหลับพักผ่อนประมาณ 12-16 ชั่วโมงค่ะ🕒
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะได้ทราบถึงพฤติกรรมการนอนที่ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัยเรียบร้อยแล้ว👶🏻 ดังนั้น เรามาดูธรรมชาติการนอนแต่ละแบบของเด็กๆกันดีกว่าค่ะ ว่าเจ้าตัวน้อยของเรามีพฤติกรรมการนอนที่เข้าข่ายกลุ่มไหน จัดว่าเป็นปัญหาหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายกลุ่มที่มีปัญหาจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรดีให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการนอนที่ปกติของเด็กตามช่วงวัยนั้นๆ
พฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีของเด็กๆ
นอนหลับเป็นช่วงสั้นๆไม่เป็นเวลา
เด็กจะใช้เวลานอนสั้นๆแค่นั้น ประมาณ 30-45 นาที เมื่อตื่นครั้งหนึ่งแล้วก็จะไม่สามารถคาดเดาต่อได้ว่าจะอยากนอนตอนไหนอีก และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการนอนแต่ละครั้งจะใช้เวลาแค่ไหน สำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายกลุ่มนี้ คุณผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กนอนหลับเป็นเวลามากขึ้น เริ่มต้นจากการปลุกเด็กๆในเวลาเดิมเสมอแม้เด็กจะไม่อยากตื่น และพาเขาเข้านอนในเวลาเดิมเสมอเช่นเดียวกัน แม้เด็กจะไม่ได้ง่วงนอน🥱 นอกจากวิธีจะช่วยฝึกระเบียบวินัยในการนอนของเด็กแล้ว จึงเป็นการปรับฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับการนอนของเด็กให้เข้าที่เข้าทาง ทำงานเป็นระบบ ไม่รวนค่ะ
เด็กที่ตื่นเช้า
คำว่าเช้าในที่นี้คือเจ้าตัวน้อยที่อยู่ๆก็ตื่นเองในช่วงตี 4 หรือตี 5 ทั้งที่ไม่ได้มีอะไรรบกวนการนอน ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องตื่นมาดูแลให้เด็กๆหลับต่อจนเหนื่อยล้าได้ สำหรับการแก้ไข ให้เริ่มจากการที่คุณผู้ปกครองพาเจ้าตัวน้อยเข้านอนช้ากว่าเวลาปกติประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้ลูกตื่นสายขึ้นได้บ้าง แต่ถ้าเด็กๆยังตื่นเช้าเท่าเดิมแม้จะเข้านอนช้าลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องจำลองสิ่งแวดล้อมให้เหมือนกับว่าเวลาตื่นของเขายังเป็นตอนกลางคืนอยู่🌃 ไม่เปิดไฟ และพยายามกล่อมให้เจ้าตัวน้อยนอนต่ออีกซักรอบค่ะ
เด็กที่ตื่นง่าย
ตื่นง่ายในที่นี้ไม่ใช่ปัญหาการนอนหลับยาก เด็กจะสามารถเข้านอนได้ง่ายๆเหมือนปกติ แต่จะตื่นระหว่างการนอนหลับด้วยตนเองได้ง่าย แม้เสียงเบาๆเพียงนิดเดียวหรือมีแสง💡กระตุ้นเข้าตานิดเดียวก็สามารถทำให้ตื่นได้แล้ว สำหรับเด็กๆที่ตื่นด้วยตนเองค่อนข้างง่าย สามารถแก้ไขได้โดยให้คูณผู้ปกครองให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะหลับต่อได้ด้วยตนเอง แม้ลูกจะร้องงอแงก็ยังไม่ควรเข้าไปปลอบหรืออุ้มขึ้นมาทันที เด็กจึงจะได้เรียนรู้การนอนหลับต่อด้วยตนเองได้ และคุณผู้ปกครองควรจัดห้องนอนและพื้นที่การนอนให้มีสิ่งรบกวนเจ้าตัวน้อยได้น้อยที่สุด ห้องมืดสนิท เงียบ ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก มีอุณหภูมิห้องที่เหมาะสม เสื้อผ้าของเด็กนุ่มสบายไม่รัดแน่นจนเด็กอึดอัด
เด็กที่หลับยาก
เด็กบางคนอาจเป็นคนหลับยาก ยากตั้งแต่ไม่ยอมเข้านอนดีๆ ไม่ยอมนอนในพื้นที่ที่คุณผู้ปกครองจัดสรรไว้ให้ ถ้าจะหลับก็หลับเองอย่างไม่เป็นเวลา นอนหลับบนที่ที่ไม่ใช่ที่นอนหรือบนคาร์ซีทซึ่งเป็นที่ที่ไม่ควรหลับยาวๆ สำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายการนอนแบบนี้ ควรเริ่มต้นแก้ไขจากการที่คุณผู้ปกครองต้องสร้างเงื่อนไขที่แน่นอนในการนอนสำหรับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอยากให้เจ้าตัวน้อยหลับในที่นอนของตนเองเท่านั้น ไม่นอนหลับเองในที่แปลกๆ ควรวางของเล่นหรือของที่ลูกชอบ🧸 หรือสิ่งใดก็ตามที่มีกลิ่นของคุณพ่อคุณแม่ติดไว้ในที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคยและผ่อนคลายบนที่นอนของตนเอง จะทำให้เด็กเคยชินกับการหลับบนที่นอนของตนเองมากขึ้น หากพบว่าเด็กนอนในที่ที่ไม่ใช่ที่นอนของตนเอง ให้คุณผู้ปกครองปลุกเด็กขึ้นมา หากเป็นเวลานอนก็ให้ไปนอนที่นอนตนเอง แต่หากไม่ใช่เวลานอนก็ให้คุณผู้ปกครองชวนเด็กๆเล่นหรือพูดคุยให้ตื่น จนกว่าจะถึงเวลาที่เด็กๆควรไปนอนหลับพักผ่อนอีกรอบค่ะ
ผู้อ่านก็ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมกรรมการนอนที่ปกติของเด็กในแต่ละช่วงวัย และพฤติกรรมการนอนที่ไม่ปกติไปแล้ว และน่าจะเริ่มแยกออกแล้วใช่ไหมคะ หากพบว่าเจ้าตัวน้อย👶🏻ของเรามีพฤติกรรมการนอนที่ไม่ค่อยดีก็ควรรีบแก้ไขให้กลับไปเป็นปกติ ไม่ควรมองข้ามเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะการนอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสมนั้นนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิดค่ะ