post-title

เด็กนอนละเมอ เป็นอันตรายหรือไม่

     อาการนอนละเมอ😴เป็นสิ่งที่เราแทบทุกคนเคยเจอมาก่อน และเรามักจะไม่รู้ตัวเว้นแต่ได้รับคำบอกกล่าวจากคนที่นอนด้วยว่ามีอาการละเมอ โดยปกติแล้วเป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และความรุนแรงในแต่ละครั้งหรือในแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ที่สำคัญคืออาการเหล่านี้สามารถพบในเด็กๆได้ด้วย วันนี้บทความของเราจึงพาคุณผู้อ่านมาดูว่า อาการนอนละเมอที่เจ้าตัวน้อยของเรากำลังประสบอยู่ถือว่าอยู่ในระดับที่อันตรายต่อตัวเด็กเองและคนรอบข้างหรือไม่ เราไปเริ่มทำความรู้จักอาการนอนละเมอให้มากขึ้นกันเลยค่ะ💁‍♀️


การละเมอขณะนอนหลับ (Night terrors)

เป็นประเภทของการละเมอที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

มักเกิดกับเด็กที่มีอายุในช่วง 4-12 ปี และจะเริ่มหายไปเมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

เด็กที่นอนละเมอมักจะร้องไห้ ร้องกรี๊ด ตัวสั่น เหงื่อแตก ลุกขึ้นนั่ง เปิดตาหรือปิดตาก็ได้ 

แต่ถึงแม้ปิดตาอยู่ก็ไม่ได้แปลว่าตื่นแล้ว โดยอาการเหล่านี้จะปรากฏประมาณ 10 นาที🕒และจะหายไปเองจนเด็กกลับไปนอนอย่างสงบด้วยตนเองได้หรือถูกปลุก หากถูกปลุกตื่นขึ้นมาจะไม่รู้ตัวว่าเกิดอะไรขึ้น จำเหตุการณ์ที่ตนเองเป็นไม่ได้

การนอนละเมอในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นอันตรายหรือจัดว่าเป็นอาการทางจิต 

แต่ก็มีโอกาสที่จะได้รับจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม🧬 ถ้าประวัติคนในครอบครัวมีคนนอนละเมอ เด็กก็มีโอกาสสูงขึ้นประมาณ 10% ที่จะนอนละเมอเช่นเดียวกัน

หากเด็กมีอาการนอนละเมอบ่อยๆ ให้คุณผู้ปกครองที่นอนด้วยกันหมั่นสังเกตและบันทึกว่าลูกมักมีอาการในช่วงเวลาใด หลังจากนั้นให้ปลุกเด็กก่อนช่วงเวลาที่คาดเดาว่าจะมีอาการประมาณ 15-30 นาที ให้ทำแบบนี้ไปประมาณครึ่งเดือนถึงหนึ่งเดือน หรือยาวนานกว่านั้นจนกว่าอาการนอนละเมอจะหายไปเองค่ะ การละเมอรูปแบบนี้ไม่ได้สร้างอันตรายให้กับทั้งตัวเด็กเองหรือผู้อื่น เพียงแต่อาจสร้างกความรำคาญในแง่ของเสียงรบกวนขณะนอนให้กับคนที่นอนด้วยได้เท่านั้นค่ะ


การเดินละเมอ (Sleep walking)

✨เป็นการละเมอรูปแบบี่พบได้ไม่บ่อยเท่าการนอนละเมอ มักเกิดได้กับเด็กที่มีอายุช่วง 8-10 ปี

✨เป็นการละเมอที่สามารถลุกขึ้นมาเดินได้ หลบสิ่งกีดขวางและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวได้คล้ายตอนตื่นเลยค่ะ

✨หากมีประวัติว่าคนในครอบครัวมีภาวะเดินละเมอ เด็กจะมีโอกาสเป็นตามเช่นเดียวกันสูงขึ้นถึง 10 เท่า

✨สาเหตุมักมาจากการนอนหลับพักผ่อนต่อวันไม่เพียงพอ ช่วงที่หลับเป็นการหลับแบบไม่มีคุณภาพ มีการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ😴 หรือจะเกิดในช่วงที่เจ้าตัวน้อยมีอาการเจ็บป่วย

✨การละเมอรูปแบบนี้สามารถสร้างอันตรายให้กับทั้ตัวเด็กเองหรือผู้อื่นได้ เพราะเด็กสามารถมีปฏิสัมพันธ์และใช้สิ่งของรอบตัวได้ เพียงแต่ไม่มีสติขณะใช้นั่นเอง หากพบว่าเจ้าตัวน้อยมีอาการละเมอเดิน คุณผู้ปกครองควรจัดห้องนอนให้รัดกุม ไม่ให้เด็กสามารถเปิดประตูออกนอกห้องเองได้หรือติดตั้งสัญญาณเตือนหากมีการเปิดประตูกลางดึก🌃

✨หากพบว่าเด็กมีอาการนอนละเมอให้พยายามอุ้มเด็กกลับไปนอนต่อโดยไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่นค่ะ

นอนละเมอรุนแรงขนาดไหนถึงควรไปพบแพทย์

✨เด็กง่วงระหว่างวันบ่อยๆ

✨เด็กสมาธิสั้น จดจ่อกับอะไรนานๆไม่ได้ ซน ควบคุมไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ไม่ดี

✨ในกรณีที่ละเมอเดิน มีความเสี่ยงที่จะเดินหกล้มหรือกระโดดลงจากที่สูงเอง

✨คุณผู้ปกครองสังเกตว่าเด็กมีภาวะนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะกรนร่วมด้วย

แนวทางลดปัญหาการนอนละเมอในเด็ก

✨ลดกิจกรรมที่มีโอกาสกระตุ้นอารมณ์ตื่นเต้นก่อนนอน ไม่ว่าจะเป็นการเสพสื่อที่มีความตื่นเต้นเร้าใจหรือน่ากลัว ฟังเพลงเสียงดังๆ

✨ไม่ขู่หรือหลอกให้เด็กกลัวเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ อาจทำให้เด็กเป็นกังวลจนเก็บเอาไปฝันร้ายและนอนละเมอได้

✨จัดกิจกรรมที่ช่วงให้เด็กผ่อนคลายก่อนส่งเด็กๆเข้านอน ยกตัวอย่างเช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ🧘‍♀️ อ่าานนิทานให้ฟัง เปิดเพลงกล่อมเบาๆหรือเสียงบรรยากาศสบายๆ (White noise) ฟังก่อนเข้านอนหรือในระหว่างที่นอนหลับเลยก็ได้ค่ะ

✨ควรเว้นช่วงการกินมื้อสุดท้ายให้ห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ให้อิ่มเกินไป และงดอาหารที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีนอย่างช็อคโกแลตหรือโกโก้ค่ะ🍫

     จะเห็นแล้วนะคะว่าทั้งอาการนอนละเมอและเดินละเมอนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในเด็ก อย่างไรก็ตาม แต่ละอาการก็มีระดับความอันตรายของมันไม่เท่ากัน หากคุณผู้ปกครองประเมินแล้วว่าเด็กนอนละเมอบ่อยจนส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจก่ออันตรายในขณะละเมอได้ก็ไม่ควรมองข้าม ควรพาเด็กเข้าพบแพทย์👨‍⚕️เพื่อใช้วิธีทางการแพทย์เข้ามาช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการให้ดีขึ้นค่ะ