โรคเครียดถือเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างง่ายในวัยกลางคน เนื่องจากภาระหน้าที่ที่มากมายเพิ่มขึ้นตามวัยและช่วงอายุ หลายๆท่านก็อาจจะกำลังประสบกับโรคเรียดอยู่ หากแต่ไม่รู้ตัวหรือมองข้าม เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องธรรมดาที่ทุกคนคงเป็นเหมือนๆกัน แต่คุณผู้อ่านทราบไหมคะว่า โรคเครียดนั้นสามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นเดียวกัน น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ว่าทำไมเด็กๆที่ยังไม่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบหรือหน้าที่การงานมากมายในชีวิตจึงสามารถเกิดความเครียดจนเป็นโรคเครียดได้เหมือนวัยผู้ใหญ่เลย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคเครียดที่เกิดในเด็กไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
สาเหตุของโรคเรียดในเด็ก
พันธุกรรม🧬
การที่คุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติว่าเป็นโรคเครียด หรือโดยธรรมชาติเป็นคนที่เกิดความเครียดได้ง่าย ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเครียดได้เช่นเดียวกันค่ะ
สภาพแวดล้อมรอบตัว
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมถือว่าเป็นปัจจัยหลักเลยค่ะ ที่จะหล่อหลอมว่าเด็กจะเป็นโรคเครียดหรือไม่ หากสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็กไม่ดี มีเหตุการณ์ที่ไม่สงบ ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ต้องเผชิญกับปัญหาครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งทั้งกับคนในครอบครัวและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน🏫 ความกดดันจากผู้ปกครอง
ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง
ฮอร์โมนนั้นคือสารเคมีประเภทหนึ่งในร่างกาย ที่ถือเป็นกลไกหลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์เรา ดังนั้นฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้เด็กเกิดความเครียดจากภายในได้ค่ะ🤯
ระดับความรุนแรงของความเครียดในเด็ก
✅ระดับเบา เป็นความเครียดที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยยังไม่กระทบกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่เด็กจะมีอาการเครียด😡 ประกอบกับวิตกกังวล ไม่มีสมาธิมากพอที่จะจดจ่อกับอะไรนานๆได้ แต่ยังไม่กระทบกับความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มักเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นแล้วไม่นานก็จะหายไปค่ะ
✅ระดับกลาง เป็นระดับที่เริ่มส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเรียนและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างค่ะ
✅ระดับสูง เป็นระดับที่รุนแรง เป็นความเครียดที่มากพอที่จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่สามารถเรียนหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพได้ ตามมาด้วยอาการหดหู่ เหม่อลอย หากปล่อยไปจะตามมาด้วยอาการซึมเศร้า อยากทำร้ายตนเอง อยากตาย💀
ระดับความรุนแรงที่มักพบเจอในเด็ก
✨สำหรับความเครียดระดับเบา สามารถพบในเด็กได้มากถึง 20-30%
✨สำหรับความเครียดในระดับกลางถึงรุนแรง จะพบได้ในเด็กเพียงประมาณ 5-10% เท่านั้นค่ะ
วิธีป้องกันและบรรเทาความเครียดในเด็ก
สังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก
คำว่าสังเกต เป็นเพียงแค่การสังเกตไกลๆเท่านั้น ไม่ใช่การจับผิดจนทำให้เด็กๆอึดอัดค่ะ หากเห็นว่าความสุขหรืออารมณ์ในชีวิตประจำวันของลูกเปลี่ยนแปลงไป คุณผู้ปกครองสามารถเข้าไปพูดคุยเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูกได้ ถ้าพวกเขาเห็นว่าเป็นวงสนทนาที่ปลอดภัยมากพอ เด็กๆก็จะเล่าหรือระบายออกมาให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเอง🗣️ ไม่จำเป็นต้องบังคับหรือกดดันให้เด็กเพิ่ม เพราะจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้เด็กค่ะ
รับฟังด้วยเหตุผลอย่างใจเย็น
ไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิ เมื่อลูกๆไว้ใจคุณพ่อคุณแม่มากพอที่จะเล่าเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจแล้ว หากคุณผู้ปกครองต้องการสร้างบรรยากาศที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยในบทสนทนานี้ และบทสนทนาต่อๆไปในอนาคต🤗 ให้คุณผู้ปกครองรับฟังพวกของอย่างตั้งใจ เปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดโดยยังไม่ออกความคิดเห็นของตนเองขัด ไม่พูดแทรก ไม่ตัดสิน และไม่ตำหนิการกระทำของพวกเขา หากทำผิดก็ให้ปรับความเข้าใจด้วยเหตุผลอย่างใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์ขระพูดคุยค่ะ ที่สำคัญที่สุด แม้จะเป็นเรื่องที่ผิดมากๆแต่ก็ห้ามใช้กำลังในการสอนเด็ก เพราะเป็นวิธีที่มีแต่จะทำให้เด็กต่อต้าน และไม่เล่าอะไรให้ผู้ปกครองฟังอีกในอนาคตเพราะกลัวจะโดนทำร้ายค่ะ
เอาใจใส่และมีเวลาให้ลูก
เมื่อสังเกตว่าลูกมีความเครียดหรือแม้แต่มีเรื่องราวที่ไม่สบายใจเพียงเล็กน้อย หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือการทำให้เขารู้สึกว่าตนเองจะมีคุณพ่อคุณแม่เคียงข้างและรับฟังอยู่เสมอ👂 จะทำให้เด็กๆไม่รู้สึกว่าต้องก้าวข้ามผ่านปัญหาอยู่คนเดียว ซึ่งอาจทำให้เด็กๆรู้สึกโดดเดี่ยวได้ค่ะ
จะเห็นแล้วนะคะว่าความเครียดที่อาจรุนแรงไปจนถึงโรคเครียดนั้นสามารถเกิดขึ้นในเด็กได้เช่นเดียวกัน ไม่เฉพาะแค่ในวัยทำงานเท่านั้น ที่สำคัญ เราไม่ควรมองว่าความเครียดของเด็กเป็นเรื่องเล็ก เขาควรจะผ่านไปด้วยตนเองได้ เพราะคนในแต่ละช่วงอายุก็มองเรื่องใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ในตอนนั้น เรื่องราวที่ดูเล็กของเราอาจเป็นโลกทั้งใบของเด็กๆเลยก็ได้ค่ะ👶🏻