post-title

การขลิบในเด็กชาย เป็นประโยชน์จริงหรือไม่

     คุณผู้อ่านเคยได้ยินหรือเคยรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “การขลิบ” ไหมคะ เชื่อว่าบางท่านอาจเคยได้ยินหรือเคยรู้จักกันมาในแง่ของหนึ่งในกระบวนการทางศาสนา สำหรับบางศาสนานั้น เด็กผู้ชายจำเป็นต้องขลิบหรือตัดหนังหุ้มบริเวณปลายอวัยวะเพศชายออก แต่เด็กผู้ชายจนไปถึงคุณผู้ชายบางคน ก็เลือกที่จะทำการขลิบเช่นเดียวกันทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุผลทางด้านศาสนา วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านมาดูถึงเหตุผลและที่มาที่ไปทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการขลิบ เพื่อใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจในกรณีที่มีเจ้าตัวน้อยเป็นเด็กผู้ชายในอนาคตค่ะ แต่ก่อนอื่น เราไปรับรู้ถึงความสำคัญของเจ้าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายกันก่อนดีกว่าค่ะ💁‍♀️


ความสำคัญของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

👉ปกป้องปลายองคชาติจากการเสียดสีหรือการกระแทกแรงๆไม่ให้บาดเจ็บ

👉ปกป้องปลายท่อปัสสาวะภายในองคชาติจากการเสียดสีเนื้อผ้าในระหว่างที่ใส่ชั้นใน

สาเหตุทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชายที่จำเป็นต้องทำการขลิบ

✨สารคัดหลั่งใต้หนังหุ้มอวัยวะเพศสะสมและเกาะตัวกันเป็นก้อนสีขาว

✨เจ็บปลายอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ จนทำให้ปัสสาวะได้ลำบาก

✨บริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงส่วนใดก็ตามในระบบปัสสาวะติดเชื้อก่อโรค

✨เคยรูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศลงแล้วรูดกลับขึ้นไม่ได้

✨รูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเพื่อทำความสะอาดไม่ได้เลย หรือรูดได้ไม่เต็มที่ หนังหุ้มปลายรัดองคชาติมากเกินไป อาจทำให้บวมและรู้สึกเจ็บได้

ข้อดีของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

✅ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่ายขึ้น ลดการหมักหมมของสารคัดหลั่ง ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์อันเกิดจากการสะสมของสารคัดหลั่ง

✅ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อก่อโรคจากปลายทางเดินปัสสาวะ ทำให้ติดเชื้อไปสู่ทางเดินปัสสาวะส่วนอื่นๆ

✅ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคะเร็งองคชาติ ซึ่งมาจากการสะสมของสารคัดหลั่งเช่นเดียวกัน

✅ป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน

ข้อเสียของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

❎อาจไม่เป็นที่พึงพอใจด้านความสวยงามภายนอกหลังทำการขลิบ

❎ในอนาตคต บริเวณปลายองคชาติของเด็กชายอาจไวต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเท่าเดิม เนื่องจากบริเวณปลายองคชาติถูกเสียดสีกับเสื้อผ้าโดยตรง นานวันไปอาจทำให้ผิวส่วนนั้นด้าน และบริเวณรูท่อปัสสาวที่อยู่ส่วนปลายขององคชาติที่ถูกเสียดสีกับผ้าบ่อยๆอาจเกิดการอักเสบและตีบลงได้

❎หากตัดบริเวณหนังหุ้มปลายออกไปไม่เหมาะสม หากตัดมากเกินไป ในอนาคตจะทำให้รู้สึกเจ็บเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว แต่หากตัดน้อยเกินไปก็เหมือนการขลิบออกไม่หมด ได้รับประโยชน์ของการขลิบไม่เต็มที่เท่าที่ควร อาจต้องทำการขลิบเพิ่มในอนาคตค่ะ


สามารถพาลูกขลิบได้ตอนไหน

✨ช่วงแรกเกิดของทารก ประมาณ 1-2 วันแรกหลังคลอดจากครรภ์ของคุณแม่

ทารกอายุ 2 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 6 ปี

ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

  1. การติดเชื้อบริเวณแผลที่ทำการขลิบ มีเลือดออก🩸

  2. บางรายอาจมีอาการแพ้ยาชา

  3. ปลายองคชาติบาดเจ็ด

  4. แผลหลังผ่าตัดอาจบวมนูน ไม่สวยงาม

ถ้ามีภาวะเหล่านี้ ไม่ควรขลิบ!

  1. เด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

  2. เด็กที่มีความผิดปกติบางอยางเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เช่น เด็กชายที่มีภาวะท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติ

     อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะได้รับรู้ถึงข้อดีข้อเสียของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายกันแล้วนะคะ จะเห็นว่าการขลิบนั้นเป็นเพียงทางเลือก ไม่จำเป็นว่าเด็กผู้ชายทุกคนควรทำ เพราะคนที่ไม่ทำและมีอวัยวะเพศที่ปกติ ก็สามารถดูแลความสะอาด ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศได้เช่นกัน🦠 ดังนั้น คุณผู้ปกครองควรใช้วิจารณญาณควบคู่ไปกับการรับคำปรึกษา คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนตัดสินใจพาเจ้าตัวน้อยไปขลิบค่ะ